Saturday, November 29, 2008


ระบบปฏิบัติการ



ระบบปฏิบัติการคืออะไร
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องนั้นนอกจากจะมีส่วนประกอบทางด้าน ฮาร์ดแวร์ คือตัวเครื่องแล้ว ยังต้องมีส่วนประกอบทางด้าน ซอฟต์แวร์ คือคำสั่งอีกด้วย จึงจะทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ส่วนประกอบทางด้านซอฟต์แวร์ที่สำคัญที่สุดก็คือ ระบบปฏิบัติการ ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่ง ที่จะทำให้เราสามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานให้เราได้

ระบบปฏิบัติการ (Operating System) นั้นมีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับ
1. หน่วยความจำ (Memory)
2. ตัวประมวลผล (Processor)
3. อุปกรณ์ข้างเคียง (Peripheral Devices)
4. สารสนเทศ (Information)
ลักษณะการทำงานของระบบปฏิบัติการ จะเป็นดังนี้
1. กำหนดนโยบายการใช้อุปกรณ์หรือส่วนต่างๆของคอมพิวเตอร์
2. ติดตามการใช้งานของอุปกรณ์ตามข้อ 1
3. จัดเตรียมส่วนของคอมพิวเตอร์ให้กับงานที่มีสิทธิใช้
4. เรียกส่วนของคอมพิวเตอร์คือจากงานที่หมดสิทธิใช้
จากหน้าที่และลักษณะการทำงานดังที่ได้กล่าวแล้วจะเห็นว่าระบบปฏิบัติการนั้นเป็นตัประสานงานโดยตรงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้เราสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีระบบปฏิบัติการจะไม่สามารถติดต่อและทำงานกับเราได้เลย ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ในปัจจุบันนี้มีหลายระบบ แยกกันชัดเจนระหว่างคอมพิวเตอร์ขนานใหญ่และ ไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น MUSIC, VM ,VS/1, UNIX , OS/2 ,MS DOS เป็นต้น






windows98


วินโดวส์ 98 (Windows 98, ชื่อรหัส: Memphis) เป็นระบบปฏิบัติการ GUI ออกแบบสำหรับผู้ใช้ทั่วไปซึ่งเป็นรุ่นต่อจากวินโดวส์ 95 พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ และวางจำหน่ายวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) และรุ่นอัปเดตวินโดวส์ 98 Second Edition ได้ออกวางจำหน่ายวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) รุ่นต่อจากวินโดวส์ 98 คือวินโดวส์ Me





วินโดวส์ 98 รองรับ AGP และ USB ยูเอสบีดีขึ้นกว่าเดิม และได้เพิ่มการรองรับการใช้งานหลายหน้าจอ รองรับดีวีดีไดร์ฟในตัว สนับสนุนระบบไฟล์ FAT32 ซึ่งทำให้สามารถรองรับฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่กว่า 2 จิกะไบต์ได้ นอกจากนั้นยังเป็นรุ่นแรกที่รองรับ ACPI ในส่วนอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นมานั้น ได้แก่ Internet Connection Sharing (ICS) ซึ่งทำให้หลายเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นสามารถแชร์อินเทอร์เน็ตผ่านแลนได้ด้วย Network address translation (NAT) และยังมาพร้อมกับ NetMeeting 3.0 และอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 5.0





วินโดวส์ 98 เป็นระบบปฏิบัติการแรกที่รองรับ Windows Driver Model (WDM) ซึ่งในช่วงแรกนั้นไม่รู้จัก เพราะไดรเวอร์เก่ายังพัฒนาโดยใช้มาตรฐาน VXD เดิม จนเริ่มแพร่หลายในช่วงหลังเนื่องจากว่า
วินโดวส์ 2000 วินโดวส์เอกซ์พีและหลังจากนั้น ไม่รองรับมาตรฐาน VXD อีกต่อไป ซึ่งทำให้ในปัจจุบัน WDM ไดรเวอร์นั้นยังสามารถรองรับวินโดวส์ 98 ได้แม้ว่าอาจจะไม่ได้พัฒนาสำหรับวินโดวส์ 98 โดยเฉพาะ


ความต้องการของระบบ
ซีพียู 486 DX2, 66 MHz หรือสูงกว่า
แรม 16MB of RAM (แนะนำ 24MB)
มีเนื้อที่ว่างในฮาร์ดดิสก์เพียงพอ ซึ่งขึ้นอยู่รับวิธีการติดตั้งและส่วนประกอบที่เลือก
ในกรณีที่อัปเกรดจากวินโดวส์ 95 ต้องการเนื้อที่ 140-315 MB (โดยปกติใช้ 205 MB)
หากติดตั้งใหม่บนระบบไฟล์ FAT16 ต้องการเนื้อที่ 210-400 MB (โดยปกติใช้ 260 MB)
หากติดตั้งใหม่บนระบบไฟล์ FAT32 ต้องการเนื้อที่ 190-305 MB (โดยปกติใช้ 210 MB)
หน้าจอ VGA หรือสูงกว่า
ซีดีรอม หรือ ดีวีดีไดร์ฟ
เมาส์ที่รองรับวินโดวส์



ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
วิวัฒนาการของระบบเครือข่ายได้ผ่านหลายระยะในช่วงเวลา 40 ปีที่ผ่านมา เริ่มต้นด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เรียกว่า “ ดัมพ์เทอร์มินอล (Dump Terminal) ” เข้ากับระบบเมนเฟรม จนกระทั่งปัจจุบันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย PC เวิร์คสเตชัน, เซิร์ฟเวอร์, เราท์เตอร์,สวิตซ์, อุปกรณ์ต่อพ่วง และอื่น ๆ อีกมาก และผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันส่วนใหญ่ จะมีเครื่อง PC ที่ใช้งาน ส่วนตัวเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายด้วยกลไกธุรกิจในปัจจุบันผู้ใช้เหล่านี้จำเป็นต้องแชร์ข้อมูลซึ่งกันและกัน แต่ข้อมูลที่แชร์นั้นต้องการระบบรักษาความปลอดภัย ด้วยเหตุนี้หลายบริษัทจึงได้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า “ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS (Network Operating System ” เพื่อทำหน้าที่จัดการเครือข่ายซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ มากมาย ในช่วงแรก ๆ นั้นจะมีเพียงบางบริษัทเท่านั้นที่พัฒนา NOS อย่างจริงจัง เช่น บานยาน (Banyan),โนเวล(Novell)และIBMเป็นต้น
NOS คืออะไร
ระบบปฏิบัติกา
NOS คืออะไร ร หรือ OS (Operating System) ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของโปรแกรมที่รันบนคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์มี
หลายชนิด เช่น หน่วยความจำ, ฮาร์ดดิสก์, จอภาพ, คีย์บอร์ด และเมาส์ เป็นต้น ถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์คงจะรันโปรแกรมมากกว่าหนึ่งโปรแกรมไม่ได้ เพราะแต่ละโปรแกรมอาจแย่งใช้ทรัพยากรดังกล่าว จนอาจทำให้ระบบล่มได้ ระบบเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการทั้งสองประเภท เพื่อที่จะทำหน้าที่ทั้งจัดการทรัพยากรภายในคอมพิวเตอร์และในระบบเครือข่าย แต่โดยส่วนใหญ่ระบบ ปฏิบัติการทั้งสองประเภทจะอยู่ในตัวเดียวกัน เมื่อติดตั้งระบบปฏิบัติการเสร็จแล้วก็เพียงติดตั้งส่วนที่เป็นเครือข่ายเท่านั้น
ระบบปฏิบัติการเครือข่ายอาจเป็นชุดซอฟต์แวร์ที่ต้องติดตั้งเพิ่มเติม หรืออาจจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการทั่ว ๆ ไป ขึ้นอยู่กับบริษัทที่ผลิต ตัวอย่างเช่น เน็ตแวร์ (NetWare) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ของบริษัทโนเวล เป็นระบบปฏิบัติการที่ต้องติดตั้งเพิ่มเติมบนเครื่องที่มีระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว ส่วนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ NT/2000/2003, วินโดวส์ 95/98/Me และยูนิกซ์มีระบบปฏิบัติการเครือข่ายอยู่ในตัวอยู่แล้ว โดยไม่ต้องติดตั้งเพิ่มเติม
บริการหลักของ NOS
การเลือกใช้ระบบปฏิบัติการเครือข่ายอาจมีผลต่อการใช้งานเครือข่ายขององค์กรมาก ซึ่งอาจมีผลต่อความยากง่ายต่อการใช้งาน ความยากง่ายต่อการดูแล และจัดการระบบ
แอพพลิเคชันต่าง ๆ ที่แชร์กันใช้ในระบบโครงสร้างของเครือข่าย รวมถึงระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เป็นต้น สิ่งที่ควรพิจารณาเปรียบเทียบก่อนที่ตัดสินใจมีดังต่อไปนี้
1. บริการจัดเก็บไฟล์และการพิมพ์ (File and Print Services)
การแชร์ไฟล์และเครื่องพิมพ์ถือได้ว่าเป็นจุดประสงค์หลักของการสร้างระบบเครือข่าย ดังนั้น ฟังก์ชันนี้จึงเป็นส่วนที่สำคัญของระบบปฏิบัติการเครือข่าย บริการจัดเก็บฟล์และการพิมพ์ของระบบจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการเครื่องพิมพ์ ความสามารถในการจัดการเกี่ยวกับพื้นที่เก็บไฟล์ที่แชร์ระหว่างผู้ใช้ รวมถึงระบบควบคุมการเข้าใช้ทรัพยากรเหล่านี้ด้วย
2. บริการดูแลและจัดการระบบ (Management Services)
การจัดการเครือข่ายถือเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน เช่น การจัดการเกี่ยวกับผู้ใช้ (User Accounts) คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เครือข่าย การรายงานเกี่ยวกับข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเครือข่าย และการเฝ้าดูระบบเครือข่ายเพื่อทราบถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและสามารถแก้ไขได้ทันเวลา หรือก่อนที่จะกลายเป็น
ปัญหาใหญ่ ยิ่งเครือข่ายมีขนาดใหญ่ยิ่งจะทำให้หน้าที่ของผู้ดูแลระบบซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นระบบปฏิบัติการเครือข่ายจำเป็นต้องมีฟังก์ชันที่ช่วยลดความซ้ำซ้อนของงานเหล่านี้ ปัจจุบันระบบปฏิบัติการสมัยใหม่จะใช้ไดเร็คทอรีเข้ามาช่วย เช่น เน็ตแวร์ก็จะมี NDS Directory (Novell Directory Services Directory) หรือถ้าเป็นวินโดวส์ 2003 ก็จะมี ADS (Active Directory Services) เป็นต้น เครื่องมือนี้จะช่วยให้การจัดการเครือข่ายง่ายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่
3. บริการรักษาความปลอดภัย (Security Services)
การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในเครือข่าย ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เนื่องจากถ้าระบบถูกทำลาย ความเสียหายอาจมากเกินกว่าที่คิดไว้ก็ได้ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลบางประเภทที่ต้องการความปลอดภัย เช่น ข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัทหรือองค์กร การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้จำเป็นที่ต้องจำกัดอยู่เฉพาะผู้ที่มีสิทธิเท่านั้น ดังนั้นระบบปฏิบัติการเครือข่ายควรมีฟังก์ชันที่สามารถ แยกแยะผู้ใช้ โดยสามารถกำหนดสิทธิ์ให้กับผู้ใช้หรือกลุ่มของผู้ใช้ได้
4. บริการอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต (Internet/Intranet Services)
ปัจจุบันการให้บริการอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ตถือเป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับองค์กร ระบบปฏิบัติการเครือข่ายต้องมีฟังก์ชันที่ให้บริการด้านนี้ด้วย บริการที่กล่าวนี้คือ ดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์ , เว็บเซิร์ฟเวอร์, เมลเซิร์ฟเวอร์, เอฟทีพีเซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น ซึ่งบริการเหล่านี้จะช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการให้บริการเว็บ เพราะเป็นเทคโนโลยีที่สะดวกต่อการใช้งาน ฝั่งไคลเอนท์เพียงแค่มีโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ เช่น อินเตอร์เน็ตเอ็กซ์พลอุเรอร์ (IE) หรือเน็ตสเคป (Netscape) ก็สามารถใช้งานได้แล้ว และในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีแนวโน้มไปทางอินเตอร์เน็ตมาก ดังนั้นระบบปฏิบัติการเครือข่ายควรให้บริการด้านนี้ได้ด้วย
5. บริการมัลติโพรเซสซิ่งและคลัสเตอริ่ง (Multiprocessing and Clustering Services)
ประสิทธิภาพในการให้บริการของเซิร์ฟเวอร์ และความเชื่อถือได้หรือความสามารถในการให้บริการอย่างต่อเนื่องก็เป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะกับระบบธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล การที่เซิร์ฟเวอร์หยุดให้บริการเพียงแค่ไม่กี่นาทีก็อาจทำให้ธุรกิจเสียหายอย่างที่คาดไม่ถึงได้เช่นกัน ประสิทธิภาพในการให้บริการของเซิร์ฟเวอร์ นั้นจะขึ้นอยู่กับทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ความท้าทายของความสามารถในการขยายระบบ (Scalability) เป็นองค์ประกอบที่
สำคัญของการทำให้ระบบมีความเชื่อถือสูง (High Availability) องค์กรต้องสามารถเพิ่มสมรรถนะของแอพพลิเคชัน หรือทรัพยากรของเครือข่ายเมื่อจำเป็นได้ โดยไม่มีผลทำให้ระบบต้องหยุดชะงัก การเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบและประสิทธิภาพในการให้บริการสามารถทำได้ 2 วิธีคือ มัลติโพรเซสซิ่ง (Multiprocessing) และคลัสเตอริ่ง (Clustering)
- Multiprocessing : มัลติโพรเซสเซอร์คือ ระบบที่มี CPU หรือโพรเซสเซอร์มากกว่าหนึ่งเซิรฟ์เวอร์ที่ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะเป็นระบบมัลติโพรเซสเซอร์ ซึ่งยิ่งระบบมีโพรเซสเซอร์มากยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพให้กับแอพพลิเคชันที่รันบนระบบนั้น ๆ
- Clustering : การทำคลัสเตอริ่ง คือ การทำให้เซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ เครื่องทำงานร่วมกันในการให้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆ งาน เพื่อสำหรับเมื่อเซิร์ฟเวอร์หนึ่งไม่สามารถให้บริการได้ เซิร์ฟเวอร์ที่เหลือก็สามารถให้บริการแทนได้ ซึ่งเหตุการณ์นี้จะเรียกว่า “เฟลโอเวอร์ ( Failover) ” นอกจากนี้คลัสเตอริ่งยังทำงานเกี่ยวกับโหลดบาลานซิ่ง (Load Balancing) ซึ่งเซอร์เวอร์แต่ละเครื่องในคลัสเตอร์เดียวกันจะตรวจเช็คซึ่งกันและกันตลอดเวลา ซึ่งเมื่อเครื่องใดเครื่องหนึ่งมีประสิทธิภาพลดลง หรือมีโหลดเยอะเกินไปเซิร์ฟเวอร์ที่มีโหลดน้อยกว่าก็จะแบ่งงานจากเซิร์ฟเวอร์ดังกล่าว เช่นกันกับมัลติโพรเซสซิ่งคลัสเตอริ่งต้องรองรับโดยทั้งแอพพลิเคชันและระบบปฏิบัติการด้วย
Novell Netware
โนเวลถือได้ว่าเป็นบริษัทแรกที่พัฒนาระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS และปัจจุบันยังคงเป็นบริษัทชั้นแนวหน้าในด้านนี้ ในปี ค.ศ. 1983 โนเวลได้พัฒนาเน็ตแวร์ เพื่อใช้สำหรับการแชร์ไฟล์และเครื่องพิมพ์ผ่านเครือข่าย ทำให้เน็ตแวร์เป็น NOS แรกที่รองรับการทำงานบนแพลตฟอร์มหลายประเภท เช่น MS-DOS , Windows, MacOS เป็นต้น ต่อมาในปี ค.ศ. 1994 โนเวลได้เพิ่ม NDS (Novell Directory Services) ให้กับเน็ตแวร์และประสบความสำเร็จมาก เวอร์ชันล่าสุดของ NDS เปลี่ยนชื่อมาเป็น อีไดเร็คทอรี (eDirectory) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ให้ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการเครือข่ายได้อย่างง่าย เน็ตแวร์เป็น NOS ที่ให้บริการการ
เข้าใช้ทรัพยากรเครือข่ายอย่างต่อเนื่องและปลอดภัย เวอร์ชันล่าสุดของเน็ตแวร์คือ เวอร์ชัน 6.5 ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงไฟล์, ใช้เครื่องพิมพ์, ไดเร็คทอรี่, อีเมล, ฐานข้อมูล ระบบจัดเก็บข้อมูลและไคลเอนท์หลายแพลตฟอร์ม
อินเตอร์เน็ตได้เปลี่ยนลักษณะการทำธุรกิจในปัจจุบัน โนเวลได้เสนอคอนเซปต์ที่เรียกว่า “วันเน็ต (One Net) ” หรือเครือข่ายหนึ่งเดียว เนื่องจากอินเตอร์เน็ตสามารถ
เชื่อมต่อเครือข่ายขององค์กรได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก หรือผู้ใช้ที่เดินทางเพื่อทำธุรกิจก็สามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายขององค์กรเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีได้ โดยผ่านอินเตอร์เน็ต แนวคิดวันเน็ตคือ เครือข่ายสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องไม่ว่าผู้ใช้จะใช้อุปกรณ์ใด เวลาใด หรือไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม อีไดเร็คทอรีเป็นเทคโนโลยีที่รองรับคอนเซ็ปต์วันเน็ต กล่าวคือ ผู้ใช้สามารถล็อกอินเข้าระบบได้ไม่ว่าผู้ใช้อยู่ที่ใดในโลก เน็ตแวร์ถูกออกแบบบนพื้นฐานของโปรโตคอลมาตรฐาน เช่น Java, HTTP, XML, และ WAP เพื่อรองรับการเชื่อมต่อที่หลากหลายในโลกที่ซับซ้อนในปัจจุบัน
สำหรับการจัดการเกี่ยวกับไฟล์นั้นโนเวลได้นำเสนอซอฟต์แวร์ใหม่ที่ชื่อ “ไอโพลเดอร์ (iFolder)” ซึ่งจะอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงไฟล์ส่วนตัวได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ถ้ามีการใช้ไอโฟลเดอร์ผู้ใช้ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการถ่ายโอนไฟลระหว่างเครื่องเดสก์ทอปที่ตั้งอยู่บนสำนักงานกับเครื่องแล็บท็อปที่ผู้ใช้ใช้เมื่อเดินทางไฟล์ทุก ๆ ไฟล์ที่เซฟในไอโพลเดอร์ของแต่ละเครื่องจะซิงโครไนซ์ให้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ไอโฟลเดอร์ยังมีระบบการรักษาความปลอดภัยให้กับ ข้อมูลส่วนตัวนี้ด้วย
1 บริการจัดเก็บไฟล์และการพิมพ์ (File and Print Services)
การเชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้ที่ตั้งของธุรกิจมีความสำคัญน้อยลง ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจเกิดขึ้นหลายล้านทรานแซคชั่นบนอินเตอร์เน็ตทุกวัน บ่อยครั้งที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลและองค์กร ซึ่งอยู่คนละซีกโลก เว็บเทคโนโลยีได้สร้างเครื่องมือสำหรับผู้ใช้ที่ต้องเดินทางบ่อย ๆ เพื่อติดต่อธุรกิจ ซึ่งได้เปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจซึ่งแต่ก่อนอาจต้องทำที่ที่เฉพาะเท่านั้น
1 Folder
เน็ตแวร์ก็ได้ถูกออกแบบมา เพื่ออำนวยความสะดวกกับผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากระยะไกล เน็ตแวร์ไอโฟลเดอร์ (iFolder) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ซิงโครไนซ์ไฟล์ของผู้ใช้บนเครื่องแล็บท็อปกับไฟล์ที่เก็บไว้ในเครือข่ายขององค์กรให้โดย
อัตโนมัติ ซึ่งเป็นการให้บริการที่ทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดี ฟีเจอร์ที่สำคัญของไอโฟลเดอร์มีดังนี้
- ผู้ใช้สามารถเข้าถึงไฟล์ได้ โดยผ่านอินเตอร์เน็ตโดยการใช้เว็บบราวเซอร์ทั่ว ๆ ไป เช่น IE, เน็ตสเคป เป็นต้น
- ระดับการควบคุมการเข้าถึงไฟล์สูง โดยผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์และโฟลเดอร์ของแต่ละคนได้
- รองรับการทำงานหลายแพลตฟอร์ม เช่น วินโดวส์ ลีนุกซ์ เป็นต้น
- ความสามารถในการซิงโครไนซ์ไฟล์ฐานข้อมูล (*.mdb) และไฟล์เอาต์ลุ๊ค (*.pst) ได้โดยไม่ต้องทราสเฟอร์ทั้งฐานข้อมูล แต่เฉพาะเร็คคอร์ดที่มีการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น
- เข้ารหัสข้อมูลระหว่งไคลเอนท์และไอโฟลเดอร์เซิร์ฟเวอร์โดยที่ไม่ต้องทำ VPN (Virtual Private Network)
2 Print
ทางเลือกใหม่ คือ การพิมพ์ผ่านอินเตอร์เน็ต IEFT ได้พัฒนาโปรโตคอลใหม่สำหรับการพิมพ์ผ่านอินเตอร์เน็ตนั่นคือ IPP (Internet Printer Protocol) ซึ่งจะอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถสั่งพิมพ์หรือจัดการเครื่องพิมพ์ใดก็ได้ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต โนเวลเรียกซอฟต์แวร์ที่ใช้ฟีเจอร์ของ IPP ว่า “ Print ”
ไอพรินต์ (Print) เป็นส่วนประกอบใหม่ของเน็ตแวร์ที่ออกแบบมาสำหรับการพิมพ์ผ่านอินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะฟีเจอร์หลักของไอพรินต์มีดังนี้
- เน็ตแวร์อีไดเร็คทอรี สามารถเพิ่มออบเจ็กต์เครื่องพิมพ์ พรินต์คิว และพรินต์เซิร์ฟเวอร์ เข้ากับไดเร็คทอรีได้ และสามารถบริหารจัดการโดยใช้เครื่องมือเดียวกันกับที่บริหารจัดการออบเจ็กต์อื่น ๆ ในไดเร็คทอรี
- NDPS (Novell Distributed Print Service) ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริหารและจัดการเครื่องพิมพ์โดยสามารถรองรับการจัดการผู้ใช้ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการเครื่องพิมพ์ได้
- Print ซึ่งทำงานร่วมกับ NDPS สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องที่ตั้งของเครื่องพิมพ์และแพลตฟอร์มของพรินต์เซิร์ฟเวอร์ได้
เพื่อทำตามคอนเซ็ปต์วันเน็ต โนเวลจึงได้พัฒนา Print ซึ่งใช้โปรโตคอลมาตรฐาน IPP เครื่องพิมพ์เซอร์เวอร์จะทำหน้าที่แปลงพิมพ์ทั้งหมดให้สามารถรองรับ
IPP ได้ และเชื่อมเข้ากับเครือข่ายทำให้ผู้ใช้ที่มีสิทธิ์สามารถใช้งานได้ทันที เนื่องจาก iPrint ทำงานร่วมกับ NDPS เมื่อผู้ดูแลระบบทำการปรับเปลี่ยนค่าที่กำหนดให้กับเครื่องพิมพ์ใด ๆ ก็จะมีผลต่อกับเครื่องพิมพ์ไอพรินต์เช่นกัน ด้วย iPrint ผู้ใช้สามารถบ่งชี้ ค้นหาที่ตั้งและค้นดูฟีเจอร์ของเครื่องพิมพ์ และเลือกใช้เครื่องพิมพ์ที่พร้อมใช้งานโดยใช้เว็บบราวเซอร์
ไดรเวอร์สำหรับเครื่องพิมพ์นั้น ๆ สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งโดยอัตโนมัติ หลังจากนั้นเครื่องพิมพ์ iPrint ก็จะปรากฎเหมือนกับเครื่องพิมพ์ที่ใช้งานโดยทั่วไป เนื่องด้วยฟีเจอร์นี้จึงช่วยลดงานของผู้ดูแลระบบโดยแทนที่ต้องไปติดตั้งไดรเวอร์ และเซตคอนฟิกที่เครื่องไคลเอนท์ทุกครั้งที่มีการร้องขอ นอกจากนี้ iPrint ยังมีเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างแผนผังที่ตั้งของเครื่องพิมพ์ในสำนักงาน โดยเครื่องพิมพ์จะปรากฏเป็นไอคอนที่อยู่ในแผนผัง ซึ่งผู้ใช้สามารถคลิกที่ไอคอนเพื่อเลือกเครื่องพิมพ์นั้น และสามารถดาวน์โหลดไดรเวอร์ได้ด้วยแผนผัง นี้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาเครื่องพิมพ์ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น iPrint จะใช้การตรวจสอบผู้ใช้ของ HTTP และ SSL เพื่อเข้ารหัสข้อมูลที่ส่งไปยังเครื่องพิมพ์กับผ่านอินเตอร์เน็ต
ความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขององค์กรจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า ทุก ๆ ปี เนื่องจากการเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณนี้ทำให้ความสามารถในการขยาย (Scalability) และจัดการพื้นที่จัดเก็บ มูลจึงกลายเป็นจุดประสงค์หลักของการบริหารระบบจัดเก็บข้อมูล อย่างไรก็ตามความสามารถในการขยายไม่ควรที่จะมีผลต่อความน่าเชื่อถือ และประสิทธิภาพของระบบจัดเก็บเอง หลายองค์กรไม่สามารถยอมรับได้กับการที่เซิร์ฟเวอร์ในเครือข่ายที่สำคัญไม่สามารถให้บริการได้ และไม่มีองค์กรใดที่อยากจะเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการอัพเกรดระบบจัดเก็บข้อมูลบ่อย ๆ เนื่องจากพื้นที่เก็บกำลังจะถูกใช้หมดไป แต่เน็ตแวร์ 6 มีความสามารถในการจัดการพื้นที่เก็บข้อมูลดังนี้
- ความจุสูงสุดของพื้นที่เก็บ คือ 8 TB (Terabyte = 1,000 Gigabyte)
- Capacity on demand : คือ ผู้ดูแลระบบสามารถเพิ่มอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์เท่าที่ต้องการ โดยในตอนแรกผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดขนาดพื้นที่เก็บข้อมูลหรือ วอลลุ่ม (Volume) ให้มีขนาดใหญ่กว่าความจุของอุปกรณ์จัดเก็บทั้งหมดได้ โดยเมื่อพื้นที่ในอุปกรณ์เหล่านี้กำลังจะหมด ผู้ดูแลระบบสามารถเพิ่มฮาร์ดดิสก์ใหม่ได้โดยที่ไม่ต้องมีการคอนฟิกค่าใหม่ให้กับเซิร์ฟเวอร์เลย
การแชร์การใช้พื้นที่เก็บข้อมูลในอุปกรณ์จัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ในระบบฮาร์ดแวร์ที่จัดเก็บข้อมูลอาจประกอบด้วยหลายวอลลุ่ม ซึ่งแต่ละวอลลุ่มอาจมีขนาดความจุใหญ่กว่าขนาดความจุของฮาร์ดแวร์ดังกล่าวได้ ซึ่งจะช่วยในการประหยัดเกี่ยวกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูล
3 Novell Storage Services (NSS)
(NSS) Novell Storage Services เป็นระบบไฟล์ใหม่ของโนเวลที่พัฒนาสำหรับระบบการจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูล NSS เป็นระบบไฟล์แบบ 64 บิตที่พัฒนาจากระบบโนเวลไฟล์ซิสเต็ม (Novell File System) ที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นระบบที่สามารถจัดการเกี่ยวกับวอลลุ่ม พาร์ดิชัน และโฟลเดอร์ โดย NSS นี้จะอนุญาตแต่ละวอลลุ่มมีขนาดถึง 8 TB ดังนั้น NSS สามารถรองรับหลายพันล้านวอลลุ่ม และแต่ละวอลลุ่มอาจมีหลายพันล้านไฟล์
วอลลุ่ม (Volume) ในที่นี้จะหมายถึงหน่วยหรือขอบเขตที่ใช้จัดเก็บไฟล์ โดยวอลลุ่มหนึ่งจะสร้างจากกลุ่มของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล หรือสโตเรจพูล (Storage pool) ซึ่งสโตเรจพูลอาจถูกสร้างมาจากฮาร์ดดิสก์หนึ่งก้อนหรือมากกว่าก็ได้ NSS ไม่ได้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับขนาด และประเภทของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ หรือฮาร์ดดิสก์อาจเก็บไว้คนละที่ก็ได้ เช่น อาจเป็นอินเทอร์นอลหรือเอ็กซ์เทอร์นอลก็ได้ นอกจากนี้ ถ้ามีการฟอร์แมตและแบ่งพาร์ดิชัน
สโตเรจพูลอาจถูกสร้างจากพื้นที่ที่ว่างในฮาร์ดดิสก์เดียวกันก็ได้ วอลลุ่มสามารถกำหนดให้มีขนาดคงที่หรือเป็นแบบไดนามิกก็ได้
ความยืดหยุ่นในการจัดเก็บข้อมูลโย NSS ทำให้ใช้พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์อย่างคุ้มค่า และอนุญาตให้องค์กรซื้อฮาร์ดดิสก์เพิ่มเฉพาะตอนที่จำเป็นเท่านั้น แทนที่จะจัดซื้อครั้งเดียวแล้วสงวนพื้นที่ว่างเพื่อใช้ในอนาคต ตัวอย่างเช่น องค์กรอาจกำหนดให้ฐานข้อมูลจัดเก็บไว้ในวอลลุ่มที่มีขนาดใหญ่กว่าฮาร์ดดิสก์โดยเมื่อฐานข้อมูลมีขนาดใหญ่เกินกวว่าฮาร์ดดิสก์เครื่องนั้นจะรับไหวก็เพียงแค่เพิ่มฮาร์ดดิสก์
4 Storage Area Network (SAN)
ความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้หลายองค์กรต้องพิจารณาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของระบบจัดเก็บข้อมูลใหม่ ปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นนี้ทำให้ระบบการจัดเก็บข้อมูลเปลี่ยนจากเดิมที่ใช้ระบบจัดเก็บที่เป็นอุปกรณ์พ่วงต่อกับเซิร์ฟเวอร์มาเป็นระบบเครือข่ายที่ใช้จัดเก็บข้อมูลโดยเฉพาะ เพื่อรวบรวมเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ ที่จัดเก็บข้อมูลไว้ที่เดียวกันและลดค่าในการบำรุงรักษา และงานของผู้ดูแลระบบ SAN (Storage Area Network)
เป็นระบบที่จัดเก็บข้อมูล โดยรวมเอาอุปกรณ์จัดเก็บขนาดใหญ่ไว้ที่เดียวกันแล้วเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย โดยใช้สวิตซ์ที่จะ ดูแลเกี่ยวกับข้อผิดพลาดของข้อมูลและการทำโหลดบาลานซิ่ง ซึ่งการเชื่อมต่อนั้นจะใช้ไฟเบอร์แชนแนลความเร็วสูง นอกจากนี้ SAN ยังช่วยลดโหลดของเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลนี้ได้ด้วย
NSS รองรับการเชื่อมต่อเข้ากับ SAN ได้ทันที นอกจากนี้ NSS ยังช่วยเพิ่มความสามารถของ SAN ได้ด้วยคอนเซ็ปต์ที่ว่า “Capacity on demand” ดังที่ได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้ เน็ตแวร์ 6 รองรับการทำงานกับ SAN ดังนี้
- รองรับการเชื่อมต่อกับ SAN โดยตรง และสามารถจัดการข้อมูลที่จัดเก็บใน SAN ได้
- การทำคลัชเตอริ่ง (Clustering) ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับระบบ และยังเป็นการกำจัดปัญหาความผิดพลาดจุดเดียวทำให้ระบบล่ม หรือ Single – Point of Failure ได้
2 บริการดูแลและจัดการเครือข่าย (Management Service)
ความง่ายในการจัดการเครือข่ายนั้นถือเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะสำหรับเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ ถ้าไม่มีเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ดูแลระบบแล้ว การจัดการทรัพยากร เครือข่ายก็อาจเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลยก็ได้ เน็ตแวร์มีเครื่องมือสำหรับจัดการทั้งตัวเซิร์ฟเวอร์เองและทรัพยากรเครือข่าย ซึ่งมีอยู่หลายอย่างดังนี้
1 Directory
เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเครือข่ายของโนเวลคือ NDS (Novell Directory Service) ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่สำคัญที่สุดของเน็ตแวร์ ไดเร็คทอรีของเครือข่ายคือ ระบบที่จัดเก็บและจัดการข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรเครือข่าย เช่น คอมพิวเตอร์ ผู้ใช้ และเครื่องพิมพ์เป็นต้น นอกจากนี้ยังให้บริการหลายอย่าง เช่น การให้บริการข้อมูลแก่ผู้ใช้เกี่ยวกับระบบ หรือทรัพยากรรวมทั้งควบคุมการเข้าถึงทรัพยากรเหล่านั้น NDS ของโนเวลจะช่วยให้การจัดการทรัพยากรเครือข่ายง่ายขึ้น เนื่องจาก NDS จะแสดงผลเป็นกราฟิก และจัดเรียงเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งออบเจ็กต์แต่ละอย่าง เช่น คอมพิวเตอร์, ผู้ใช้, เซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น จะถูกจัดเป็นลำดับขั้นและมีโครงสร้างที่ง่ายต่อการค้นหาและจัดการ ซึ่งผู้ดูแลระบบสามารถจัดการไดเร็คทอรีจากเครื่องไหนก็ได้ เพียงแค่ล็อกอิน ในฐานะผู้ดูแลระบบ ส่วนผู้ใช้ก็เพียงแค่ล็อกอินเข้าครั้งเดียวก็
สามารถเข้าถึงเครือข่ายและใช้ทรัพยากรได้ตามสิทธิ์ทุกอย่างในปัจจุบัน NDS อาจเป็นระบบจัดการไดเร็คทอรีที่ดีที่สุดก็ว่าได้
2 ConsoleOne
ConsoleOne เป็นเครื่องมือสำหรับจัดการเซิร์ฟเวอร์ซึ่งเขียนด้วยภาษา Java ซึ่งมีข้อดีก็คือ โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาจาวานั้นสามารถรันได้ทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น Windows, Unix, Linux ทำให้การจัดการเครือข่ายและทรัพยากรนั้นง่ายมากยิ่งขึ้น



ConsoleOne
3 Manager
โนเวล Manager เป็นเครื่องมือสำหรับการจัดการเซิร์ฟเวอร์ผ่านเว็บบราวเซอร์หรืออินเตอร์เน็ต ดังนั้น จึงเป็นเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการจัดการเซิร์ฟเวอร์

Wednesday, November 19, 2008

โดเมนเนมคืออะไร


ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม (domain name) หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ หรืออีเมล์แอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบ โดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส ของชื่อนั้นๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้ง เราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนก็ได้
โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป
อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" (ยัติภังค์) คั่นด้วย "." (มหัพภาค) โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร ตัวอักษรตัวใหญ่ A-Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน
1 ไอพีแอดเดรส สามารถใช้โดเมนเนมได้มากกว่า 1 โดเมนเนม และหลายๆ โดเมนเนมอาจจะใช้ไอพีแอดเดรสเดียวกันได้

ตัวอย่าง
ตัวอย่างต่อไปนี้ แสดงถึงความแตกต่างระหว่าง ยูอาร์แอล (URL) โดเมนเนม และ ซับโดเมน ยูอาร์แอล: http://www.example.com/
โดเมนเนม: example.com
ซับโดเมน : subdomain.example.com
โดยทั่วไป ไอพีแอดเดรสกับชื่อเซิร์ฟเวอร์มักจะแปลงกลับไปมาได้ 1 ไอพีแอดเดรสมักหมายถึง 1 ชื่อเซิร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบัน ความสนใจในเรื่องเว็บ ทำให้จำนวนเว็บไซต์มีมากกว่าเซิร์ฟเวอร์ โพรโทคอล HTTP จึงระบุว่าไคลเอนต์จะเป็นผู้บอกเซิร์ฟเวอร์ว่าชื่อใดที่ต้องการใช้ วิธีนี้ 1 เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ 1 ไอพีแอดเดรสจะใช้โดเมนเนมได้หลายชื่อ
ยกตัวอย่าง เซิร์ฟเวอร์ที่มีไอพี 192.0.34.166 อาจจะใช้งานโดเมนเนมเหล่านี้ได้: example1.com
example2.net
example3.org
เมื่อมีคำร้องขอ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชื่อโฮสต์ก็จะถูกร้องขอเช่นกัน เพื่อส่งไปยังผู้ใช้การจดทะเบียน Domain แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
การจดทะเบียน Domain ต่างประเทศ
การจดทะเบียน Domain ภายในประเทศ
การจดทะเบียน Domain ต่างประเทศ
.COM ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้งเว็บไซต์ส่วนตัว และมีบางครั้งนำไปใช้ทำเว็บไซต์ (web site) ประเภทอื่นๆ ด้วย
.NET ใช้ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค (network) ของคอมพิวเตอร์ หรือเว็บไซต์บริการอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย
.ORG ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ บางครั้งก็มีการจดทะเบียนนำไปใช้กับเว็บไซต์ประเภทอื่นด้วย
การจดทะเบียน Domain ภายในประเทศ
.CO.TH ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป
.OR.TH ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ และชื่อโดเมนต้องเป็นชื่อขององกร หรือตัวย่อของชื่อองค์กรนั้นๆ ต้องใช้สำเนาเอกสารทางราชการเป็นหลักฐานการจดทะเบียน
.AC.TH ใช้ทำเว็บไซต์ของสถานศึกษาต่างๆ ชื่อของโดเมนที่จดทะเบียนต้องเป็นชื่อของสถานศึกษานั้นๆ หรือชื่อย่อของชื่อสถานศึกษา ใช้สำเนาเอกสารการขออนุญาตก่อตั้งสถานศึกษาเป็นหลักฐาน
.GO.TH ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการของประเทศไทย โดยปกติจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่
.IN.TH ใช้ทำเว็บไซต์ของบุคคลธรรมดาโดยทั่วไป ชื่อโดเมนจะใช้ชื่ออะไรก็ได้ ใช้สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาใบขับขี่เป็นหลักฐานการจดทะเบียน




.com
ย่อมาจาก commercial หมายถึง การค้า บริษัท องค์กร
.net
ย่อมาจาก network หมายถึง เครือข่าย
.org
ย่อมาจาก organization หมายถึง องค์กรไม่หวังผลกำไร
.biz
ย่อมาจาก business หมายถึง องค์กร บริษัท ห้างหุ้นส่วน คล้ายกับ .com
.info
ย่อมาจาก information หมายถึง ข้อมูลสารสนเทศ
.us
ย่อมาจาก united states หมายถึง ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศนี้ด้วย
.co.th
ย่อมาจาก commercial in Thailand หมายถึง บริษัทหรือองค์กรที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
.ac.th
ย่อมาจาก academic in Thailand หมายถึง โรงเรียน มหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
.or.th
ย่อมาจาก organization in Thailand หมายถึง องค์กรไม่หวังผลกำไรที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
.in.th
ย่อมาจาก individual in Thailand หมายถึง บุคคลทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
.net.th
ย่อมาจาก network in Thailand หมายถึง หน่วยงาน/องค์กรทำธุรกิจด้านเครือข่ายที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย

วิธีจดโดเมนเนมด้วตัวเอง


วิธีจดโดเมนเนม
Step 1 : ระบุโดเมนเนมที่ต้องการ Register ลงในแบบฟอร์มเช่น yourcompany.com
Step 2 : ระบบจะแสดงข้อมูลโดเมนที่ต้องการว่า ยังว่างอยู่หรือไม่
Step 3 : เลือกโดเมนที่ต้องการและยังว่างอยู่ คลิกที่ปุ่ม Register Now!
Step 4 : สำหรับผู้ที่จดโดเมนกับ Netdesignhost เป็นครั้งแรก เลือก New User * ระบุ Username , Password ที่ต้องการใช้ในการแก้ไขโดเมน (เลือกได้เอง)
Step 5 : สำหรับผู้ที่เคยจดโดเมนกับ Netdesignhost เลือก Existing User * ระบุ Username , Password และ Domain Name ที่เคยจดไว้
Step 6 : ระบุข้อมูลต่างๆสำหรับการจดโดเมน Owner,Admin,Billing Contact
Final Step : ตรวจสอบข้อมูล คลิกที่ Confirm Register ข้อมูลการชำระเงินจะแสดงขึ้นมา
วิธีชำระค่าบริการ
ชำระโดยการโอนเงินเข้าบัญชี (สามารถโอนผ่าน ATM ได้) ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขาศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ ชื่อบัญชี "บริษัท เน็ตดีไซน์ โฮสต์ จำกัด" (Netdesign Host Co.,Ltd) บัญชี ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 253-1-33081-0 * หลังจากโอนเงินเข้าบัญชีแล้วกรุณา Fax สลิป Pay-in มาที่ 02-642-1100 พร้อมระบุโดเมนเนม,เบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับ
ชำระเงินสด ด้วยตนเอง ที่ NetDesign ได้ทั้ง 7 สาขา
สั่งจ่ายเช็คในนาม "บริษัท เน็ตดีไซน์ โอสต์ จำกัด"

หลักที่ใช้ในการจดโดเมนเนม

หลักที่ใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม
ความยาวของชื่อ ตั้งได้ไม่เกิน 67 ตัวอักษร
สามารถใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกับตัวเลข หรือเครื่องหมายขีด (-) ได้
ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ใช้ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ได้
ห้ามใช้เครื่องหมายขีด (-) นำหน้าชื่อ domain name
ห้ามเว้นวรรคในชื่อ domain name

ต่อไปก็เป็นคำถามเกี่ยวกับโดเมนเนม ครับ

1.ac.th เป็นเว็บไซต์ประเภทใด?

ก.บุคคลทั่วไปที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย
ข.สถานศึกษาที่อยู่ในเมืองไทย
ค. การค้า บริษัท องค์กร
ง.ข้อมูลสารสนเทศ

เฉลยครับ...ข. เพราะ a.c.ย่อมาจากacademic ซึ่งแปลว่า สถานศึกษา ไงครับ

2.การจดทะเบียนDomain แบ่งออกเป็นกี่ประเภท?
ก.1ประเภท
ข.2ประเภท
ค.3ประเภท
ง.4ประเภท

เฉลยครับ....ข....2ประเภท ได้แก่ โดเมนต่างประเทศ และ ภายในประเทศ

3.โดเมนเนมคืออะไร?
ก.ชื่อเว็บไซต์ เว็บไซต์หนึ่ง
ข.ชื่อที่ใช้ระบุประเภทของเว็บไซต์ เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์
ค.ชื่อยี่ห้อคอมพิวเตอร์
ง.เป็นส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์

4.หากเราจะตั้งชื่อเว็บไซต์ของเราโดยเกี่ยวข้องกับโรงเรียนหนึ่ง เราจะใช้โดเมนเนมอะไร
ก. .or.th
ข. .co.th
ค. .ac.th
ง. .com

เฉลยครับ ค.ครับ

5. .us เป็นโนเมนเนมของประเทศอะไร
ก. สหรัฐอเมริกา
ข. รัสเซีย
ค. สเปน
ง. อังกฤษ

เฉลย..........ก.ครับ u.k.= united states ซึ่งเป็นชื่อประเทศอเมริกา ครับ

Tuesday, November 11, 2008



สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นพระธิดาพระองค์แรกใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ณ สถานพยาบาล กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พระนามในพระสูติบัตรเมื่อแรกประสูติ คือ เมย์ ตามเดือนที่ประสูติ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงมีพระอนุชา ๒ พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระภัทรมหาราช พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา และ ในพ.ศ. ๒๔๗๘ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเฉลิมพระเกียรติเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ครั้นเมื่อทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖ รอบ ใน พ.ศ. ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาพระอิสริยศักดิ์ เป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในตามธรรมเนียมราชประเพณีเป็นพระองค์แรกในรัชกาลทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
หลังจากที่ประสูติได้ไม่นานนัก สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงย้ายจากกรุงลอนดอนไปประทับอยู่ที่เมืองเซาท์บอน ทางฝั่งตะวันออก และหลังจากนั้นไปประทับที่เมืองบอสคัม ทางชายฝั่งทะเลด้านใต้ของประเทศอังกฤษ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ประทับ ณ ประเทศอังกฤษ จนถึงเดือน ต.ค. พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี เสด็จกลับประเทศไทย เมื่อเสด็จถึงประเทศไทย สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้พระราชทานพระตำหนักใหญ่ของวังสระปทุมเป็นที่ประทับ พระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตดุล ซึ่งเป็นพระสหายสนิทของสมเด็จพระบรมราชชนนี ระหว่างที่ทรงศึกษาวิชาพยาบาลที่โรงพยาบาลศิริราช เป็นผู้ถวายการอภิบาล ต่อมาพ.ศ. ๒๔๖๘ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนีไปประเทศเยอรมนีและประเทศฝรั่งเศส